ประเด็นที่ 1 สตรีกับความยากจน

ทุกวันนี้ ประชากรโลกกว่าหนึ่งพันล้านคนตกอยู่ในความยากจนอย่างน่าสังเวชและส่วนใหญ่เป็นสตรีในทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนสตรีและบุรุษ ที่ยากจนเพิ่มขึ้นอย่างไม่ได้สัดส่วนกันอีกทั้งสตรียังมีโอกาสกลายเป็นผู้ยากจนมากกว่าบุรุษ ยิ่งในชนบท ด้วยแล้ว ปัญหาจะรุนแรง เป็นพิเศษ

ปัญหาข้างต้นเกิดขึ้นเพราะสตรีมีโอกาสทางเศรษฐกิจและความเป็นอิสระน้อยกว่าบุรุษ การเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ การศึกษา ฝึกอบรมและบริการสนับสนุนอื่นๆมีจำกัด สตรีมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย ในการตัดสินใจ ความเคร่งครัดต่อบทบาท ที่สังคมกำหนดไว้ ้และแนวโน้มของรัฐที่จะตัดทอนบริการสังคมล้วนทำให้ภาวะความยากจนที่สตรีเป็นผู้แบกรับกลับมากยิ่งขึ้น ไปอีก

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • ทบทวน ยอมรับ และรักษานโยบายเศรษฐกิจมหภาคและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ใส่ใจกับความต้องการและ ความพยายาม ของสตรี ผู้ยากจน
  • แก้ไขกฏหมายและวิธีบริหารราชการ เพื่อประกันว่าสตรีจะได้รับสิทธิมนุษยชนและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ อย่างเสมอภาค
  • จัดหาวิธีให้สตรีได้เข้าถึงกลไกและสถาบันเพื่อการออม ตลอดจนสินเชื่อต่างๆ
  • พัฒนาระเบียบวิธีที่อาศัยมุมมองความแตกต่างของหญิงชายเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ และวิจัยปัญหาความยากจน ซึ่งกำลังปรากฏในหมู่สตรีมากยิ่งขึ้น

ประเด็นที่ 2 สตรีกับการศึกษาและฝึกอบรม

การศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง และเป็นเครื่องมือสำคัญในการบรรลุความเสมอภาค การพัฒนา และสันติภาพ ถึงแม้ว่าโดยรวมแล้ว เด็กผู้หญิงจะได้เข้าเรียนในชั้นประถมและมัธยมมากขึ้น แต่หลายประเทศยังคงมีการเลือกปฏิบัติ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น เจตคติดั้งเดิม สตรีต้องแต่งงานและมีบุตรตั้งแต่อายุยังน้อยไม่มีสถานที่เรียน ที่จะสามารถเข้าเรียนได้สะดวก อีกทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ และมีเนื้อหาที่แสดงอคติทางเพศ เด็ก ผู้หญิงยังคงขาดโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในระดับสูงและในสาขาวิทยาศาสตร และ เทคโนโลยี

การลงทุนให้การศึกษาฝึกอบรมแก่เด็กผู้หญิงและสตรีทั้งแบบในระบบและนอกระบบ เป็นหนทางหนึ่งที่พิสูจน์ว่า จะสามารถสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ดีที่สุด

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

ประกันความเสมอภาคในด้านการศึกษา รัฐบาลจะต้องมุ่งมั่นให้มีการเข้าถึงการศึกษาพื้นฐานโดยทั่วถึงภายในปี 2543 โดยให้เด็กในวัยประถมศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 80 ได้เรียนจนจบ ขจัดช่องว่างระหว่างหญิงชายในชั้น ประถมและมัธยมศึกษาให้หมดไป และให้มีการศึกษาโดยทั่วถึงในทุกประเทศก่อนปี 2558

  • ขจัดความไม่รู้หนังสือในหมู่สตรีให้หมดสิ้น ลดอัตราการไม่รู้หนังสือลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของระดับในปี 2533
  • ปรับปรุงสตรีให้มีโอกาสเข้าถึงการฝึกอบรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์เทโนโลยี และการศึกษาต่อเนื่อง
  • พัฒนาการศึกษาและฝึกอบรมที่ไม่เลือกปฏิบัติระหว่างหญิงและชาย
  • จัดสรรทรัพยากรที่จะใช้ดำเนินงานและติดตามการปฏิรูปการศึกษาให้เพียงพอ
  • ส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมตลอดชีพสำหรับเด็กผู้หญิงและสตรี

ประเด็นที่ 3 สตรีกับสุขภาพ

สุขภาพของสตรีเกี่ยวเนื่องกับสภาวะความเป็นอยู่ทางจิตใจ สังคม และกายภาพ และยังถูกกำหนด โดยบริบทของ สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ชีวิตและความเป็นอยู่ของสตรียังขึ้นอยู่กับการมีสุขภาพทางกายและใจในมาตรฐานสูงสุด และเป็น สิ่งจำเป็นสำหรับความสามารถเข้าร่วมในทุกสาขาของชีวิตสังคมและส่วนตัว สตรีต้องได้รับสิทธิดังกล่าวตลอดทุกขั้นตอน ของ ชีวิตอย่างเสมอภาคกับบุรุษ

แผนปฏิบัติการให้คำนิยามสุภาพการเจริญพันธุ์ว่า หมายถึง สภาพการเป็นอยู่กันผาสุกโดยครบถ้วนทั้งทางกาย จิตใจ และสังคม รวมถึงสุขภาพทางเพศซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความสัมพันธุ์ของชีวิตทั้งในสังคมและส่วนตัว ความสัมพันธุ์อันเท่าเทียมระหว่าง หญิงชายในเรื่องเพศและการเจริญพันธุ์นั้นประกอบขึ้นด้วยการนับถือซึ่งกันและกัน การยินยอมพร้อมใจและรับผิดชอบร่วมกัน สิทธิ การเจริญพันธุ์ตั้งอยู่บนการตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของคู่สามีภรรยา และปัจเจกบุคคลที่จะตัดสินใจโดยเสรี และ ด้วยความรับผิดชอบว่าจะมีบุตรจำนวนกี่คน เมื่อใด นอกจากนั้นยังมีสิทธิที่จะได้รับสารสนเทศ และตัดสินใจเรื่องการเจริญพันธุ์ อย่างเป็นอิสระปราศจากการเลือกปฏิบัติบีบบังคับและการกระทำรุนแรง

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • ให้สตรีมีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะได้รับการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมราคาพอควร และมีคุณภาพ รวมทั้งสารสนเทศและ บริหารด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยตลอดทุกขั้นตอนของชีวิต
  • ลดการตายของมารดา จากระดับที่เป็นอยู่ในปี 2533 ลงอย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี 2543 จากนั้นให้ลดลงไปอีกครึ่งหนึ่งภายในปี 2558
  • สนับสนุนหญิงและชายให้รับผิดชอบต่อพฤติกรรมทางเพศและการเจริญพันธุ์ของตน
  • ริเริ่มใช้ประเด็นบทบาทหญิงชายในการแก้ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ ประเด็นเรื่องเพศและ การเจริญพันธุ์
  • เพิ่มทรัพยากรที่ใช้ในด้านสุขภาพของสตรี และตรวจสอบการติดตามผลด้วย

ประเด็นที่ 4 ความรุนแรงต่อสตรี

ในทุกสังคม สตรีและเด็กหญิงถูกกระทำทารุณทางกาย ทางเพศและทางจิตใจทั้งในชีวิตส่วนตัวและสาธารณะ มากน้อยแตกต่าง กันไป โดยไม่จำกัดฐานะ ชนชั้น และวัฒนธรรม มีการข่มขืนทารุณกรรมและลานลามทางเพศ รวมทั้งการคุกคามในที่ทำงาน ในสภาวะสงคราม สตรียิ่งต้องได้รับความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ การใช้สตรีเป็นทาสทางเพศ บังคับให ้ตั้งครรภ์บังคับให้ทำหมันและทำแท้ง เลือกเพศทารกก่อนคลอดและกำจัดทารกหญิงถือเป็นความรุนแรงเช่นกัน การกระทำ ดังกล่าว ล้วนเป็นการละเมิดและทำลายหรือลบล้างสิทธิมนุษยชนและสรีภาพเบื้องต้นที่สตรีควรได้รับ นอกจากนั้นตรีบางกลุ่ม เช่น แรงงาน ย้ายถิ่นต้องการความเอาใจใส่เป็นพิเศษ เนื่องจากตกอยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อความรุนแรงอย่างยิ่ง

ความรุนแรงต่อสตรีจะยิ่งเพิ่มพูนและยืดเยื้อต่อไปไม่สิ้นสุด ถ้าปราศจากกฏหมายช่วยป้องกันและคุ้มครอง หรือสตรีไม่มีโอกาส เข้าถึง หรือรัฐไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฏหมายนั้น

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอในแผนปฏิบัติการ คือ

  • ยอมรับและปฏิบัติตามกฏหมายที่จะยุติความรุนแรงต่อสตรี
  • เร่งอนุวัติ และปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อสตรี รวมทั้งอนุสัญญาว่าด้วยการ ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
  • ออกกฏหทายใหม่และบังคับใช้กฏหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อลงโทษผู้มีหน้าที่รักษาความมั่นคง ตำรวจ หรือตัวแทนอื่นๆ ของรัฐที่ปฏิบัติการรุนแรงต่อสตรี
  • จัดหาที่พัก ความช่วยเหลือทางกฏหมาย และบริการอื่นๆ ให้เด็กผู้หญิงและสตรีที่อยู่ในสถานะเสี่ยงต่อความรุนแรง รวมทั้งให้คำปรึกษาและการบำบัดฟื้นฟูแก่ผู้กระทำผิดเรื่องความรุนแรงต่อสตรี
  • เร่งรัดการให้ความร่วมมือระดับชาติและระดับนานาชาติที่จะกำจัดเครือข่ายการค้าสตรี

ประเด็นที่ 5 สตรีกับความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ

  • สันติภาพเป็นพื้นฐานของการบรรลุถึงความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย แต่ในทางตรงกันข้าม ความขัดแย้งทั้งประเภทที่ใช้อาวุธ และอื่นๆ ยังคงปรากฏอยู่ในหลายๆ ส่วนของโลก ความก้าวร้าว การเข้ายึดครอง โดยกองกำลังต่างชาติ ความขัดแย้งทาง ชาติพันธุ์ ล้วนเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อสตรีและบุรุษในแทบทุกภูมิภาค การใช้จ่ายใน กิจกรรมทหาร อย่างฟุ่มเฟือย รวมทั้งการค้าอาวุธทำให้ปัญหาดังกล่าวรุนแรงยิ่งขึ้น
  • แม้ว่าสตรีเกือบจะไม่มีบทบาทในการตัดสินใจให้เกิดการขัดแย้งโดยใช้อาวุธแต่สตรีจะเป็นผู้ธำรงรักษาสังคมให้มีระเบียบวินัยอยู่ได้ ท่ามกลาง ความขัดแย้ง และมีส่วนสำคัญที่จะให้การศึกษาเรื่องสันติภาพ และช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งให้หมดไป
  • แผนปฏิบัติการตระหนักดีว่า การข่มขืนซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในระหว่างความขัดแย้งนั้นจัดเป็นอาชญากรรมและภายใต้ บาง สถานการณ์ เป็นเครื่องมือการสังหารชนชาติให้สูญพันธุ์ จึงขอประณามการใช้ "การทำลายล้างชาติพันธุ์" เป็นยุทธวิธีในการ ทำสงคราม รวมถึงการข่มขืน อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมา การกระทำดังกล่าวต้องยุติลงโดยทันที และนำตัวผู้กระทำผิดมารับโทษ

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของสตรีในระดับที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการแก้ไขความขัดแย้ง
  • ลดการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยทางทหาร และควบคุมการมีอาวุธยุทธภัณฑ์
  • พยายามให้มีการอนุวัติอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านกับระเบิดและพิธีสารเลือกรับโดยทั่วถึง ภายในปี 2543
  • ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญและการมีส่วนร่วมของสตรีในการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพทุกแห่งในโลก
  • ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องคุ้มครองสตรีที่ตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งประเภทที่ใช้อาวุธและอื่นๆ หรือภายใต้การยึดครองของต่างชาติ รวมทั้งผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น

ประเด็นที่ 6 สตรีกับเศรษฐกิจ

  • สตรีมีส่วนสำคัญในชีวิตเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลก โดยมีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆ ในกำลังแรงงาน กิจการขนาดย่อม ขนาดเล็ก และขนาดกลาง รายได้จากการทำงานของสตรีกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครัวเรือนทั้งหลายมากขึ้นทุกที
  • แต่สตรีกับถูกละเลยในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ ต้องเผชิญกับการถูกกดค่าจ้าง สภาพการทำงานที่เลวร้าย ด้อยโอกาสในการ จ้างงาน และอาชีพ สตรีได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยทำงานหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะมีค่าจ้างหรือไม่ก็ตาม แต่งานของ สตรีภายในบ้านและในชุมชนนั้นไม่มีผลตอบแทนเป็นตัวเงิน จึงไม่อาจตีราคาออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งทำให้ไม่มีการประเมินค่า รวมอยู่ในบัญชีประชาชาติ
  • การเลือกปฏิบัติใยนการศึกษาและฝึกอบรม การจ้างงานผลตอบแทนและการเลื่อนตำแหน่ง รวมทั้งสภาพการทำงาน ที่ไม่มี ความยืดหยุ่น ขาดการเข้าถึงทรัพยากรการผลิต และการแบ่งภาระความรับผิดชอบในครอบครัวอย่างไม่ได้สัดส่วน ล้วนเป็นการ จำกัดโอกาสของสตรีในการจ้างงาน เศรษฐกิจ และอาชีพทั้งสิ้น

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • ส่งเสริมสิทธิทางเศรษฐกิจและความเป็นอิสระของสตรี การเข้าถึงกาจ้างงานและสภาพการทำงานที่เหมาะสม รวมทั้งอำนาจที่จะควบคุมทรัพยากรเศรษฐกิจ
  • ช่วยให้สตรีได้เข้าถึงทรัพยากรการจ้างงาน ตลาด และการค้าได้โดยเสมอภาค
  • ให้บริการด้านธุรกิจ การฝึกอบรม การเข้าถึงตลาดสารสนเทศและเทคโนโลยี โดยเฉพาะสำหรับสตรีผู้มีรายได้น้อย
  • เสริมความแข็งแกร่งให้แก่สมรรถนะทางเศรษฐกิจ และเครือข่ายการพานิชย์ของสตรี
  • ขจัดการแบ่งแยกทางอาชีพ และการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานทุกรูปแบบ
  • ส่งเสริมการประสานความรับผิดชอบในครอบครัวเข้ากับการทำงาน ทั้งของสตรีและบุรุษ

ประเด็นที่ 7 การมีส่วนร่วมของสตรีในการตัดสินใ

  • การมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคของสตรีในการตัดสินใจ ไม่เพียงเป็นการเรียกร้องความยุติธรรมทางสังคมหรือประชาธิปไตยเท่านั้น แต่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจะได้รัฐบาลที่มีความโปร่งใสและรับผิดชอบต่อประชาชน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงองค์ประกอบของ สังคมโดยถูกต้องและสมดุล
  • ถึงแม้จะมีการเคลื่อนไหวแสวงหาประชาธิปไตยเกิดขึ้นแพร่หลายในหลายประเทศ แต่ตัวแทนของสตรียังเป็นเพียงส่วนน้อย ในทุก ระดับของรัฐบาล โดยเฉพาะในคณะรัฐมนตรีและองค์กรฝ่ายบริหารอื่นๆ เป้าหมายที่คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ เคยตั้งไว้ คือให้มีสตรีในตำแหน่งทีมีอำนาจในการตัดสินใจร้อยละ 30 ภายในปี 2538 นั้น ยังอยู่อีกห่างไกล ส่วนอำนาจ การเมือง ในองค์กรนิติบัญญัตื สตรีก็ได้ก้าวหน้าขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเฉลี่ยทั่วโลกเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น สำหรับตำแหน่ง ระดับรัฐมนตรี ก็ยิ่งมีสัดส่วนน้อยลงไปอีก
  • ทำนองเดียวกัน ในวงการศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา สื่อมวลชน การศึกษา ศาสนา และกฏหมาย ก็ยังมีสตรีระดับผู้บริหารอยู่เป็น ส่วนน้อย จึงไม่ได้ส่งผลที่สำคัญต่อสถาบันและมีนโยบายหลักของประเทศ

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • ประกันให้สตรีได้เข้าถึงและมีส่วนร่วมในโครงสร้างอำนาจและการตัดสินใจขององค์กรรัฐบาลและหน่วยงานบริหารรัฐกิจ รวมถึงตุลาการ องค์กรระหว่างประเทศและอง๕ืกรเอกชน ตลอดจนพรรคการเมืองและสหภาพแรงงานอย่างเท่าเทียมและเต็มที่
  • เพิ่มสมรรถนะของสตรีที่จะเข้าร่วมในการตัดสินใจและในตำแหน่งระดับผู้นำ

ประเด็นที่ 8 กลไกทางสถาบันเพื่อความก้าวหน้าของสตรี

ประเทศต่างๆ ได้จัดตั้งสถาบันเพื่อความก้าวหน้าของสตรีขึ้นมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ในรูปแบบที่หลากหลาย และด้วยประสิทธิผล แตกต่างกันออกไป สถาบันเหล่านี้มักจะอยู่เพียงชายของของโครงสร้างรัฐบาลระดับชาติ กล่าวคือ ไม่มีอำนาจในการชัดเจน ขาดแคลนทั้งกำลังคนและทรัพยากร และไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากผู้นำการเมือง ระดับประเทศ ในระดับภูมิภาค และนานาชาติ นั้นกลไกและสถาบันสำหรับความก้าวหน้าของสตรีก็ประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน

องค์กรหลายแห่งได้พัฒนาวิธีการสำหรับวิเคราะห์นโยบาย โดยอาศัยมุมมองบทบาทอันแตกต่างของหญิงชาย แต่น่าเสียดายที่ นานๆ ครั้งจึงจะนำมาใช้หรือมิฉะนั้นก็ละทิ้งไปโดยสิ้นเชิง

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • จัดสร้าง หรือเสริมความแข็งแกร่งให้กลไกระดับชาติและองค์กรอื่นๆ ของรัฐให้ประกันว่าความรับผิดชอบเรื่องความก้าวหน้า ของสตรีถูกจัดไว้ในระดับสูงสุดที่จะเป็นไปได้ในรัฐบาล
  • บูรณาการมุมมองของบทบาทหญิงชายเข้าไว้ในกฏหมายนโยบายภาครัฐ แผนงาน และโครงการ รวมทั้งประกันว่าจะมีการ วิเคราะห์ผลกระทบต่อหญิงและชายก่อนที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายใดๆ
  • จัดให้มีและเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศที่จำแนกหญิงและชายอย่างชัดเจน เพื่อใช้วางแผนและประเมินผล และประเมิน มูลค่างานของสตรีที่อยู่นอกบัญชีประชาชาติ
  • สิทธิมนุษยชนทั้งปวงล้วนเป็นสิ่งสากล แบ่งแยกมิได้ เกี่ยวโยงและขึ้นต่อกันรัฐบาลและสหประชาชาติต้องให้ความสำคัญต่อการ ที่สตรีและเด็กจะได้รับสิทธิต่างๆ อย่างเต็มที่และเสมอภาค เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความก้าวหน้าของสตรี
  • รัฐบาลต้องไม่เพียงแต่ละเว้นจากการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนของสตรี แต่ต้องส่งเสริมและป้องกันสิทธิดังกล่าวอย่างจริงจังด้วย
  • การตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนของสตรีนั้น สะท้อนให้เห็นได้ในความเป็นจริงที่ว่า สามในสี่ของประเทศสมาชิก สหประชาชาติ ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อย่างไรก็ดียังมีช่องว่างระหว่าง สิทธิที่กำหนดขึ้นกับการได้รับสิทธิที่มีอยู่จริง อนื่องจากรัฐบาลขาดความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและปกป้องสิทธิดังกล่าว อีกทั้งยังไม่ได้เผยแพร่ให้บุคคลทั้งหลายไม่ว่าหญิงหรือชาย ได้รับรู้ในสิทธิของตน

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษชนของสตรี โดยปฏิบัติตามข้อตกลงทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอนุสัญญา ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
  • ทบทวนกฏหมายต่างๆ เพื่อประกันว่าจะได้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธฺมนุษยชน
  • ประกันให้มีความเสมอภาคและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัย
  • เผยแพร่ความรู้ทางกฏหมายให้กับคนทั่วไป

ประเด็นที่ 10 สตรีกับสื่อ

ทุกวันนี้สตรีจำนวนมากทำงานอยู่ในสื่อมวลชน แต่น้อยคนได้ก้าวถึงระดับที่มีอำนาจตัดสินใจ สื่อมวลชนในประเทศต่างๆ ยังคง เสนอภาพลักษณ์ของสตรีในทางลบและเสื่อมศักดิ์ศรี ไม่ได้สะท้อนชีวิตอันหลากหลายและรูปแบบต่างๆ ของการมีส่วนร่วมในสังคม ของสตรี สิ่งที่กระทบต่อสตรีในทางลบเป็นพิเศษก็คือ สื่อลามกอนาจารที่แสดงความรุนแรงและกดให้สตรีดูไร้ค่า สื่อมวลชนทุกหน ทุกแห่งมีศักยภาพที่จะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของสตรี โดยอาจจัดสร้างกลไกควบคุมดูแลตนเองเพื่อขจัดรายการที่แสดง บทบาทหญิงชายอย่างมีอคติทางเพศ อาจมีการเสริมพลังให้สตรี โดยเพิ่มทักษะ ความรู้ และการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของสตรีในการแสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนและเทคโนโลยี ทางด้านสื่อสารใหม่ๆ รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการใช้สิ่งเหล่านั้น รัฐบาลควรมุ่งให้มีความสมดุลระหว่างหญิงและชาย โดยแต่งตั้งสตรีและบุรุษให้มีตำแหน่งในองค์กรทั้งหลายที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษา บริหาร กำกับควบคุม และตรวจสอบ สื่อมวลชน
  • ส่งเสริมการเสนอภาพลักษณ์ที่สมดุลและไม่ยึดติดกับบทบาทดั้งเดิมของสตรี องค์กรสื่อมวลชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนควรมีส่วนส่งเสริมให้มีการแบ่งภาระรับผิดชอบในครอบครัวอย่างเสมอภาค และผลิตสื่อที่แสดงให้เห็นบทบาทนานาประเภทของสตรีที่เป็นผู้นำ
  • พัฒนาแนวทางสำหรับอาชีพสื่อมวลชนและองค์กรโฆษณา รวมทั้งเกณฑ์ความประพฤติและรูปแบบอื่นๆ ของการควบคุมเพื่อ ส่งเสริมการเสนอภาพลักษณ์ของสตรีในแบบที่ไม่ซ้ำซากล้าสมัย โดยให้สอดคล้องกับเสรีภาพในการแสดงออก

ประเด็นที่ 11 สตรีกับสิ่งแวดล้อม

  • สตรีเป็นผู้ให้การเลี้ยงดูครอบครัวและชุมชน โดยการบริหารและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในฐานะผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้ดูแลครอบครัว และผู้ให้การศึกษา สตรีได้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การเสื่อมสภาพของทรัพยากรธรรมชาติก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของประชากร ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงและสตรีทุกวัย
  • อย่างไรก็ตาม สตรีซึ่งไม่ค่อยได้รับการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการในฐานะผู้บริหารทรัพยากรมักไม่ได้เข้าร่วมในการตัดสินใจ ประสบการณ์ และทักษะที่มีก็ไม่มีผู้ใส่ใจมากนัก แม้องค์กรสตรีจะมีบทบาทเป็นผู้นำ แต่ในการประสานงานกับองค์กรระดับชาติ ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

วัตถุประสงค์ของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • นำสตรีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจทุกระดับที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในฐานะผู้บริหาร ออกแบบ วางแผนปฏิบัติงาน และประเมินผลของโครงการสิ่งแวดล้อม
  • บูรณาการประเด็นมุมมองของหญิงชายเข้าไว้ในนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • จัดตั้งหรือเสริมความแข็งแกร่งให้กลไกระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ เพื่อประเมินผลกระทบของนโยบาย การพัฒนาและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสตรี

ประเด็นที่ 12 เด็กผู้หญิง

เด็กผู้หญิงต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัตินับตั้งแต่ช่วงแรกสุดของชีวิต และตลอดวัยเด็กจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เจตคติและการปฏิบัติที่ ี่เป็นอันตราย เช่น การเฉือนอวัยวะเพศภายนอกของสตรี การเลือกมีบุตรชาย การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก การแสวงหาผลประโยชน์ ทางเพศ และการปฏิบัติที่เกี่ยวโยงกับสุขภาพ รวมทั้งการจัดสรรอาหารการกิน ทั้งหมดนี้ทำให้เด็กผู้หญิงในดินแดนหลายแห่งของ โลกมีชีวิตรอดเข้าสู่วัยผู้ใหญ่น้อยกว่าเด็กผู้ชาย นอกจากนี้การขาดกฏหมายที่จะให้ความคุ้มครองหรือความล้มเหลว ของการบังคับ ใช้กฏหมาย ทำให้เด็กผู้หญิงต้องเสี่ยงต่อความรุนแรง ในรูปแบบต่างๆ มากกว่าเด็กผู้ชาย โดยเฉพาะความรุนแรงทางเพศ ในหลายภูมิภาค เด็กผู้หญิงต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในการศึกษาและการฝึกอบรมที่สร้างเสริมความรู้และทักษะเฉพาะทาง

ในแต่ละปี เด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวนมากกว่า 15 ล้านคน ต้องให้กำเนิดทารกและประสบปัญหาอื่นๆ ที่สืบเนื่อง จากการตั้งครรภ์ ส่วนการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันและก่อนวัยอันควรนั้นเด็กผู้หญิงจะเสี่ยงต่อผลร้ายต่างๆ ที่ตามมารวมถึง การติดเชื้อเอดส์ด้วย

วัตถุประสงค์หลักของข้อเสนอแนะในแผนปฏิบัติการ คือ

  • ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเด็กผู้หญิงในทุกรูปแบบ ออกและบังคับใช้กฏหทายที่เหมาะสม อันจะประกันสิทธิอันเสมอภาค ของเด็กในการสืบทอดตำแหน่งและมรดกไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม
  • ขจัดเจตคติทางวัฒนธรรมและการปฏิบัติในแง่ลบต่อเด็กผู้หญิง
  • ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเด็กผู้หญิงในการศึกษา พัฒนาทักษะ และฝึกอบรม
  • ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเด็กผู้หญิงในเรื่องสุขภาพและโภชนาการ
  • ขจัดการเอารัดเอาเปรียบแรงงานเด็ก และคุ้มครองสตรีวัยรุ่นที่จำเป็นต้องทำงาน
  • เสริมความเข้มแข็งให้กับบทบาทของครอบครัวในการปรับปรุงสถานภาพของเด็กผู้หญิง

ในปี 2543 หลังจากมีการทบทวนและประเมินการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการปักกิ่ง นานาชาติเห็นพ้องต้องกันว่า ภายในช่วง 5 ปีหลังการประชุมระดับโลกเรื่องสตรีที่กรุงปักกิ่งเป็นต้นมา สถานการณ์ต่างๆ ของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดประเด็นใหม่ๆ อันเป็นที่น่าห่วงใยในผลกระทบต่อความเสมอภาคหญิงชายเพิ่มขึ้นมาอีก สร้างความท้าทายต่อความพยายาม ที่จะกระตุ้นเตือนให้ภาคส่วนต่างๆ เร่งดำเนินนโยบายและกิจกรรมอันจำเป็น เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายของความเสมอภาค การพัฒนา และสันติภาพ

ประเด็นดังกล่าวได้แก่โลกาภิวัฒน์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเคลื่อนย้ายแรงงาน สังคมผู้สูงอายุ การแพร่ระบาดของ โรคเอดส์ ภัยภิบัติธรรมชาติและการแบ่งภาระงานระหว่างหญิงชาย